ผู้บริหารสถานศึกษา

 

ผอ

 นายครรชิต ศรีกุลคร
ผู้อำนวยการ สกร.ระดับอำเภอตาคลี

แหวว

นางสาวพิมพกานต์ สารวิชัย
ครู

ครูโสภา

นางโสภา  ทองธานี
ครูอาสาสมัครฯ

แพลตฟอร์ม กศน.นครสวรรค์

nks logo

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

049935
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ผู้เข้าชมทั้งหมด
34
57
244
49286
1435
1423
49935

Your IP: 192.168.1.1
2024-11-28 10:42

บริหาร

 โซนพระสังข์

โซนเจ้าเงาะ 

รจนา

บรรณารักษ์

 นักวิชาการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

logo

nfe takhli

ทิศทางการทำงานของสถานศึกษา

ปรัชญา : เสริมความรู้  สร้างคนดี  มีวิถีชีวิตพอเพียง

วิสัยทัศน์กศน.อำเภอตาคลี มุ่งเน้นการศึกษาตลอดชีวิต  ให้คนคิดเป็น  เน้นชุมชนเป็นฐาน  ดำรงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาครู บุคลากรทุกตำแหน่งให้มีความรู้ มีทักษะในการจัดกระบวนการ จัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพและการ เรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จําเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การ วิจัย การวัดผลและประเมินผล ให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
4. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษานําเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์ : อาชีพพอเพียง
เอกลักษณ์ : อาชีพเสริม เพิ่มรายได้

: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตาคลี:

   ปก

ประวัติความเป็นมาของ กศน.อำเภอตาคลี

จังหวัดนครสวรรค์มีเขตพื้นที่การปกครองแบ่งออกเป็นอำเภอทั้งหมด 15 อำเภอ อำเภอ   ตาคลีเป็นหนึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีประวัติและตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ 2 เรื่องพระสังข์ อันเป็นที่มาของประวัติอำเภอตาคลีชื่อของอำเภอตาคลีกล่าวกันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ตีคลี" หรือ "เดาะคลี"  

ตำนานเมืองพระสังข์ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเรื่องสังข์ทองส่วนหนึ่งเป็นตำนานของอำเภอตาคลี ความว่านางจันทร์เทวี มเหสีท้าวยศวิมลคลอดโอรสเป็นหอยสังข์ โหรทำนายว่าจะเป็นกาลกินีจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองและถูกจับถ่วงน้ำ พระยานาคได้ช่วยชีวิตไว้และ ส่งพระสังข์ไปอยู่กับนางพันธุรัตน์  ต่อมาพระสังข์ทราบว่าแม่เลี้ยงของตนเป็นยักษ์ จึงคิดหลบหนีเพื่อสืบหานางจันทร์เทวีแม่ที่แท้จริง  พระสังข์ได้ชุบตัวในบ่อทองแล้วสรวมรูปเงาะ ใส่เกือกแก้ว ถือไม้เท้าวิเศษแล้วเหาะหนีไปครั้นเมื่อนางยักษ์กลับจากหาอาหารไม่พบพระสังข์จึงเหาะตามหาและมาทันพระสังข์ที่เขาหน่อ อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์  พระสังข์หนีขึ้นไปบนยอดเขาแล้วอธิษฐานว่า"ด้วยบุญญาบารมีของข้าพเจ้า ถ้าจะมีโอกาสกลับไปพบแม่ที่แท้จริงของตนแล้วก็ขออย่าให้นางยักษ์ขึ้นไปบนยอดเขาได้ นางยักษ์ได้แต่ร้องไห้รำพึงรำพันถึงความรักของตนที่มี ต่อพระสังข์อ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหาแต่ นางยักษ์ก็ต้องสิ้นหวังก่อนตายนางบอกพระสังข์ว่า "แม่คงต้องตายอย่างแน่นอนถ้าหากลูกไม่กลับไปอยู่กับแม่แม่ขอลาตาย แต่ก่อนตายแม่ขอให้ลูกท่องมนต์วิชาเรียกเนื้อ เรียกปลา แม่จะเขียนไว้ที่ก้อนหินเชิงเขาหน่อ ลูกรักของแม่จะได้มีวิชาติดตัวไปในอนาคต" เมื่อนางยักษ์เขียนเสร็จก็สิ้นใจตาย ปัจจุบันยังมีร่อยรอยขีดเขียนอยู่ที่เชิงเขาหน่อเป็นหลักฐานแต่ไม่มีใครอ่านออกและศพนางยักษ์พันธุรัตน์ก็กลายเป็นภูเขาหินเรียกว่าเขานางพันธุรัตเมื่อพระสังข์เรียนวิชาเสร็จแล้วก็เหาะมาถึงเมืองสามล     ท้าวสามล มีลูกสาว 7 คน ซึ่งในขณะนั้นเป็น เวลาที่ลูกสาวทั้ง 7 จะเลือกคู่ครองและลูกสาวทั้งหกของท้าวสามลก็เลือกคู่ครองเป็นเจ้าชาย  เหลือแต่ลูกสาวคนที่ 7 คือ นางรจนาไม่สนใจที่จะเลือกเจ้าชาย  แต่กลับเสี่ยงพวงมาลัยเลือกชายคนหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาขี้เหร่ ผมหยิก ตัวดำ ชอบดอกไม้สีแดงเหมือนคนบ้าใบ้ หรือที่เรียกว่าเจ้าเงาะ เพราะนางรจนาได้เห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ ท้าวสามลโกธรมากจึงขับไล่ให้ทั้งคู่ไปอยู่กระท่อมปลายนา เจ้าเงาะถูกกลั่นแกล้งให้ไป หาเนื้อ หาปลา แข่งขันกับหกเขยและทุกครั้งที่แข่งขันเจ้าเงาะก็ชนะทุกครั้ง พระอินทร์เห็นว่าถึงเวลาที่พระสังข์หรือเจ้าเงาะจะต้องครองเมือง จึงแปลงตัวยกทัพมาตีเมืองสามล และท้าพนันตีคลีกัน ท้าวสามลส่งหกเขยไปตีคลี สู้กับเทวดาปรากฏว่าว่าเขยทั้งหก ตีคลีแพ้ ฝ่ายเจ้าเงาะถอดรูปออกเห็นรูปร่างภายในอันงดงามและสวมเครื่องทรงออกไปตีคลีจนชนะเทวดา สถานที่ตีคลี มีลักษณะเป็นลานกว้าง บริเวณนั้นไม่มีต้นไม้ขึ้น เรียกว่า “ลานตีคลี" ซึ่งยังปรากฏอยู่บนเขาตีคลี ในขณะที่ตีคลีอยู่นั้น มีลูกคลีลูกหนึ่งถูกตีอย่างแรงลอยออกไป ทิศตะวันออกของลานตีคลีปะทะเขาทะลุเป็นรูโหว่ ที่เขาช่องลมซึ่งอยู่ในตำบลช่องแค อำเภอตาคลี ตามเส้นทางราดยางจากโรงงานปูนซีเมนต์ โพนทอง-ช่องแค ใกล้กับโรงเรียนวัดเขาผา จุดที่เห็นชัด คือ จุดที่ห่างจากโรงเรียนวัดเขาฝาประมาณ 2 กิโลเมตร หลังจากที่พระสังข์ตีคลีชนะ ท้าวสามลจึงให้พระสังข์ครองเมือง  ชาวบ้านของอำเภอตาคลีมีความเชื่อในตำนานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงลูกหลาน ปัจจุบันจะพบเห็นได้จากการที่นำเอาชื่อของบุคคลที่สำคัญในตำนานที่เล่าขานกันมาตั้งชื่อถนนและชื่อซอยต่างๆ ในเมืองตาคลี เช่น  ถนนพระสังข์ ถนนยศวิมล ถนนบ้านไร่ปลายนา ซอยพันธุรัตน์ ซอยลูกคลี ซอยไม้คลี  ซอยสนามคลี นอกจากนี้ธงประจำอำเภอตาคลีก็ใช้เครื่องหมายรูปพระสังข์ทองทรงม้าเดาะคลีอยู่เหนือเมฆ  และสัญลักษณ์ประจำเทศบาลตำบลตาคลี  ก็เป็นสัญลักษณ์พระสังข์ทรงม้าเดาะคลีเช่นกัน

สภาพทั่วไปของอำเภอ

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

อำเภอตาคลี [ตา-คลี] เป็นอำเภอหนึ่งตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ 854 ตารางกิโลเมตร ชื่ออำเภอมีที่มาจากลานตีคลี สถานที่แห่งหนึ่งในบทละครเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดนครสวรรค์ รองจากอำเภอเมืองนครสวรรค์

พื้นที่อำเภอตาคลีมีลักษณะเป็นที่ราบ และมีภูเขาจำนวนไม่น้อย จึงมีป่าไม้มากมาย รวมทั้งกองบิน 4 ที่ยังมีต้นไม้หลากสายพันธุ์ที่ยังคงรักษาไว้ แต่ที่มีการอนุรักษ์คือ วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง เส้นทางน้ำที่สำคัญ ที่ไหลผ่านอำเภอตาคลี คือ คลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก

อำเภอตาคลี  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์  ประมาณ 80 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 180 กิโลเมตร   มีพื้นที่ทั้งหมด 854 ตารางกิโลเมตร

อำเภอตาคลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

แผนที่อำเภอตาคลี   จังหวัดนครสวรรค์

 แผนที่ ตาคลี

สภาพทางภูมิอากาศ   มี 3 ฤดูกาล

ฤดูร้อน           เดือนมีนาคม     -  เดือนมิถุนายน

ฤดูฝน             เดือนกรกฎาคม  -  เดือนตุลาคม

ฤดูหนาว          เดือนพฤศจิกายน-  เดือนกุมภาพันธ์

ข้อมูลด้านสังคม

ประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ มีวิถีชีวิตแบบญาติพี่น้อง เอื้อเฟื้อกันเสมอ และร่วมกันรักษาประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ หลากหลาย เช่น

เทศกาลและประเพณี

  • งานประเพณีไหว้พระ 9 วัดเมืองตาคลี ช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
  • ประเพณีงานเจ้าแม่ทับทิม เจ้าพ่อเจ้าแม่เมืองตาคลี จัดช่วงเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ประเพณีงานวันคล้ายวันเกิดเจ้าแม่ทับทิม จัดช่วงเดือนเมษายน (สงกรานต์)
  • เทศกาลอาหารดีเมืองตาคลี จัดช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายน
  • งานนมัสการหลวงพ่อเพชร กองบิน 4 จัดเดือนธันวาคม
  • งานต้มยาแจกทานวันเกิดหลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จัดวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5

ราวเดือนเมษายนของทุกปี

  • งานวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงพ่อพรหม ถาวโร จัดระหว่างวันที่ 29 มกราคม-30 มกราคมของทุกปี

ศาสนสถาน

ประเภทศาสนสถาน

แห่ง

วัดพุทธ สำนักสงฆ์

63

มัสยิด

1

โบสถ์คริสต์

2

อื่น ๆ

-

 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

          อาชีพของประชาชนในอำเภอตาคลี อาชีพหลักของประชาชนในอำเภอตาคลี ได้แก่ เกษตรกรรม เช่น ข้าว  ข้าวโพด  อ้อย  สวนผลไม้ (มะม่วง) ค้าขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมไปถึงการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น  โคเนื้อ  สุกร  ไก่พื้นเมือง  ไก่เนื้อ  เป็ดเทศ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานอุตสาหกรรม  เช่น โรงงานน้ำตาล  โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ  เป็นต้น…

ธนาคารในอำเภอตาคลีมี 9 แห่ง ได้แก่

สถานการณ์แรงงาน

แรงงานของประชาชนในอำเภอตาคลี แรงงานส่วนใหญ่ของประชาชนในอำเภอตาคลี ได้แก่ เกษตรกร และรองลงมา คือรับจ้างทั่วไป

          จำนวนหน่วยธุรกิจที่สำคัญของอำเภอตาคลี

-

          กลุ่มอาชีพเศรษฐกิจชุมชน

-กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน หมู่9 บ้านเขาน้อย ต.ตาคลี

-กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานจากก้านลานและไม้ไผ่ หมู่11 บ้านสันติสุข ต.จันเสน

-กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ หมู่1 ตำบลจันเสน

-กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องละคร หมู่2 บ้านตลาดหนองโพ ตำบลหนองโพ

-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชน หมู่4 บ้านหนองสร้อยทอง ตำบลสร้อยทอง

-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชน หมู่2 บ้านโคกกร่าง ตำบลสร้อยทอง

-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปหมูฝอยหวาน หมู่1 บ้านทุ่งทะเลทราย ตำบลสร้อยทอง

-กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ชุมชนเลี้ยงแพะ แกะตาคลี หมู่2 บ้านโคกกร่าง ตำบลสร้อยทอง

 

โครงสร้างสถานศึกษา

Copyright © 2020 by ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอตาคลี. All rights reserved.